แชร์

ขั้นตอนการรันน้ำสำหรับตู้ปลาทะเล (ฉบับสากล)

อัพเดทล่าสุด: 13 ส.ค. 2024
465 ผู้เข้าชม

1. หาตำแหน่งที่เหมาะสมสำหรับการวางตู้ปลา
การหาตำแหน่งสำหรับพื้นที่วางตู้ปลานั้นสำคัญมาก ต้องวางใจจุดที่คุณสามารถชื่นชมได้ทุกวันและเข้าถึงได้ง่ายสำหรับการดูแลรักษา หากเป็นตู้ปลานาโนขนาดเล็กที่มีกรองหลังหรือระบบกรองแขวน สามารถวางบนโต๊ะทำงาน เคาน์เตอร์ ชั้นวางหนังสือ โต๊ะข้างเตียง หรือโต๊ะเครื่องแป้งได้โดยไม่ต้องมีฐานรองตู้ปลาเฉพาะ เพียงแต่ให้แน่ใจว่าเฟอร์นิเจอร์หรือฐานวางตู้แข็งแรงพอที่จะสามารถรับน้ำหนักขนาดของตู้ รวมไปถึงสามารถทนต่อความกัดกร่อนของน้ำเค็มได้

2. การเลือกใช้ตู้ปลาทะเลและอุปกรณ์
ตู้ปลาทะเลนั้นเป็นที่แน่นอนว่าใช้น้ำเค็มในการเลี้ยงสิ่งมีชีวิต โดยน่ำเค็มหรือน้ำทะเลนั้นมีความหนาแน่นมากกว่าน้ำจืด รวมไปถึงกระแสน้ำในตู้และการจำรองคลื่นในตู้อาจจะทำให้น้ำมีมวลน้ำหนักมากในตู้ ทางเราจึงแนะนำใช้กระจกที่มีความหนามากกว่าตู้น้ำจืดทั่วไป และมีการประกอบทีเป็นมืออาชีพ มิเช่นนั้นอาจเกิดอุบัติเหตุหรือฝันร้ายเช่น ตู้กระจกแตกหรือตู้รั่วนั้นเอง
การเลี้ยงตู้ทะเลนั้น อุปกรณ์เปรียบเสมือน อวัยวะในร่างกายที่ขาดไม่ได้ การเลือกซื้ออุปกรณ์ที่ดีและมีคุณภาพเป็นสิ่งสำคัญ และจะำให้ผู้เลี้ยงตู้ทะเลนั้นเหนื่อยน้อยลง และสะดวกมากยิ่งขึ้น
- สกิมเมอร์ (Protein Skimmer) : เป็นหัวใจหลักของตู้ปลาทะเล อุปกรณ์ที่ใช้ในการกรองน้ำในตู้ปลาทะเล มีหน้าที่ในการกำจัดสารอินทรีย์ที่ละลายในน้ำ ซึ่งมาจากอาหารปลา ขี้ปลา และสารเคมีต่างๆ มีความสำคัญเนื่องจากช่วยในการรักษาคุณภาพน้ำในตู้ปลาให้สะอาด ลดการเกิดสารพิษที่อาจทำให้ปลาหรือสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ในตู้ป่วยหรือตายได้
- ปั๊มน้ำ : ปั๊มน้ำตู้ปลาเป็นอุปกรณ์สำคัญที่ใช้ในการเคลื่อนย้ายน้ำภายในตู้ปลาเพื่อให้เกิดการไหลเวียนของน้ำที่เหมาะสม ปั๊มน้ำช่วยในการทำให้น้ำในตู้ปลาไม่หยุดนิ่ง ลดการสะสมของสิ่งสกปรก และทำให้น้ำได้รับออกซิเจนที่เพียงพอ ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการดำรงชีวิตของปลาและสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ในตู้ปลาทะเล
- ปั๊มคลื่น : (Wave Maker) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการสร้างกระแสน้ำในตู้ปลาทะเล ซึ่งจำลองการเคลื่อนไหวของน้ำในตามธรรมชาติ กระแสน้ำที่ถูกสร้างขึ้นนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับการเลี้ยงปะการังและสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ในตู้ปลาทะเลที่ต้องการการไหลเวียนของน้ำที่เหมาะสม
- ไฟตู้ทะเล (Lighting) : สำหรับตู้ปลาทะเลล้วน สามารถใช้ไฟทั่วไป เสริมด้วยไฟสีขาวสีบลูและสีแดงเพื่อให้ปลาทะเลนั่นถูกขับสีออกมาได้สดและสวยสีสันของตัวปลาชัดเจนมากขึ้น
แต่หากเป็นตู้ที่เลี้ยงปะการัง สเปคตรัมของไฟนั้นเป็นส่วนสำคัญและมีจำเป็นต้องใช้ไฟเฉพาะสำหรับปะการังเท่านั้น เนื่องจากไฟเฉพาะเลี้ยงปะการังเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการเจริญเติบโตและสุขภาพของปะการังในตู้ปลาทะเล ปะการังส่วนใหญ่เป็นสิ่งมีชีวิตที่สังเคราะห์แสง (photosynthetic organisms) โดยพึ่งพาสาหร่ายซูแซนเทลลี (zooxanthellae) ที่อาศัยอยู่ในเนื้อเยื่อของปะการัง สาหร่ายเหล่านี้จะใช้แสงในการสังเคราะห์อาหาร ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานหลักของปะการัง ดังนั้นการเลือกใช้ไฟที่เหมาะสมจึงเป็นสิ่งสำคัญ
- ชิลเลอร์ (Chiller) : หากต่างประเทศมีฮีสเตอร์สำหรับใช้ในการความคุมอุณหภูมิตู้ปลาทะเลแล้ว สำหรับบ้านเราที่มีสภาพอากาศร้อนชื้นสุดๆ ชิลเลอร์เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการควบคุมอุณหภูมิของน้ำในตู้ปลาทะเล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตู้ปลาที่มีการใช้ไฟแสงสว่างที่มีความร้อนสูง เช่น ไฟเมทัลฮาไลด์ หรือในกรณีที่ตู้ปลาตั้งอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีอุณหภูมิสูงเกินไป ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาน้ำร้อนเกินและส่งผลเสียต่อสุขภาพของปลาและปะการัง
- ใยกรอง : ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบถุงกรองหรือใยกรองทั่วไป มีหน้าที่ในการดักจับสิ่งสกปรกหรือตะกอนต่างๆที่ถูกพัดจากกระแสน้ำตู้หลักลงสู่กรอง เพื่อลดของเสียในระบบ

3. ทรายรองพื้น
ไม่ว่าจะเป็นทรายแห้งหรือทรายเป็นที่บำบัดแล้ว คุณสามารถเลือกใช้ในรูปแบบใดก็ได้ตามความสะดวกและความเหมาะสมเพื่อเสริมสร้างความสวยงามให้กับตู้ปลาทะเลของคุณ หรือในบางกรณีอาจจะไม่จำเป็นต้องใช้ทราย ปล่อยให้พื้นโล่งก็สามารถทำได้เช่นกัน
- ทรายเป็น มักจะมีแบคทีเรียไนไตรฟายอิงที่มีชีวิตเพื่อช่วยส่งเสริมการเติบโตของแบคทีเรียที่มีประโยชน์ในตู้ปลาใหม่ของคุณ สำหรับการเติมทรายเป็นลงไป จะช่วยให้สามารถระยะเวลาวงจรของการรันน้ำได้เร็วมากยิ่งขึ้น
- ทรายแห้ง,ทรายเทียมหรือเศษปะการัง (ควรล้างน้ำให้สะอาดหรือให้ขุ่นน้อยที่สุดก่อนลงตู้) ทรายมักจะมีหลายขนาดสามารถเลือกได้ตามใจชอบ โดยทรายละเอียดมักจะเป็นที่นิยมของเหล่านักเลี้ยงตู้ปลาทะเล เนื่องจากทรายละเอียดทำให้ตู้มีมิติที่สวยมากกว่าทรายหยาบและเศษปะการัง และเป็นทรายที่อาจจะต้องใช้ระยะเวลาในการสร้างที่อยู่อาศัยของแบคทีเรียและพอด
จะใส่ทรายลงไปก่อนใส่น้ำ หรือใส่น้ำแล้วใส่ทรายทีหลังก็ได้เช่นกัน แต่หากใส่ทรายหลังใส่น้ำแล้ว จะทำให้น้ำมีโอกาสขุ่นมากกว่า และใช้ระยะเวลานานกว่าปกติที่น้ำจะใส

4. โครงสร้างหินจัดทรง
หินจัดทรงหรือหินจำลองในตู้ ไม่ว่าจะหินเป็นหรือหินตายหรือแม้กระทั้งหินเทียม มีความจำเป็นต่อตู้ปลาทะเลมากๆ นอกจากจะเป็นที่อยู่อาศัยของแบคทีเรียกและสิ่งมีชีวิตเล็กๆแล้ว ยังเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการหลบอาศัยของปลาทะเล ไม่ให้เกิดความเครียดและยังเป็นที่หลบภัยยามค่ำคืนอีกด้วย หินในตู้ทะเลทำหน้าที่เป็นตัวกรองทางชีวภาพ ให้แบคทีเรียที่มีประโยชน์เจริญเติบโตบนพื้นผิวของมันในกระบวนการหมุนเวียนของตู้ปลา
- หินเป็น : คือหินที่ถูกบำบัดมาจากระบบเป็นที่เรียบร้อยแล้ว มีแบคทีเรียและสิ่งมีชีวิตเล็กๆที่เป็นประโยชน์ต่อตู้ทะเล เพิ่มการรัดขั้นตอนวงจรการรันน้ำให้เร็วขึ้น แต่ข้อเสียของหินเป็นก็มีเช่นกัน เนื่องจากอาจมีสิ่งที่ไม่พึงประสงค์ติดมาด้วยเช่นกัน
- หินตาย : คือหินที่ถูกชำระล้างเพื่อทำการเริ่มต้นบำบัดใหม่
- หินเทียม : ปัจจุบันการเลี้ยงตู้ทะเลในเชิงอนุรักษ์ หินเทียมมีกถูกสร้างขึ้น ไม่ว่าจะด้วยปูนขาวหรือเซรามิกเคลือบ เป็นประโยชน์และไม่เบียดเบียนธรรมชาติมากเกินไป

5. เติมน้ำเกลือ
โดยปกติแล้วดีที่สุดเราควรใช้น้ำ RO ที่กรองแล้วจากเครื่องจำหน่ายน้ำหรืสามารถหาซื้อได้ที่ร้านค้าสะดวกซื้อที่มีระบุไว้ว่าเป็นน้ำ RO หรืออีกประเภทคือน้ำ RO/DI ที่มีความบริสุทธิ์มากกว่า นำมาละลายเกลือเลี้ยงตู้ทะเลเฉพาะ (ห้ามใช้เกลือทั่วไปเด็ดขาด) แบรนด์ในตลาดบ้านเรา ณ ปัจจุบันมีทั้ง RedSea, Tropic Marin, Aquaforest, Marinium, AquaRaise, Fauna Marin, และอื่นๆ เลือกตามความเหมาะสมและความชอบ เกลือแต่ละแบรนด์มีแร่ธาตุเคมีที่ต่างกัน ควรใช้ตัวใดตัวนึงในการเลี้ยงตู้ทะเลที่มีปะการัง เนื่องจากการเปลี่ยนแบรนด์ยี่ห้อเกลือบ่อยๆ อาจส่งผลให้ค่าเคมีสวิงได้

6. แบคทีเรีย
แบคทีเรียไนไตรฟายอิง (Nitrifying Bacteria) เป็นแบคทีเรียที่มีบทบาทสำคัญในวงจรไนโตรเจน (Nitrogen Cycle) ของระบบนิเวศน้ำ ทั้งในตู้ปลาน้ำจืดและตู้ปลาน้ำเค็ม โดยแบคทีเรียเหล่านี้ช่วยในการเปลี่ยนแปลงสารประกอบไนโตรเจนที่เป็นอันตรายให้กลายเป็นสารที่มีความปลอดภัยมากขึ้น เนื่องจากแบคทีเรียนั้นมีหลากหลายแบรนด์ยี่ห้อ ให้ใช้ตามอัตราที่ระบุของแบรนด์นั้นๆ หลังจากที่ใส่แบคทีเรียแล้ว ควรปิดการทำงานของสกิมเมอร์ก่อนอย่างน้อย 24 ชั่วโมง

7. ระบบเริ่มทำงาน
เมื่อทำขั้นตอนดังกล่าวแล้ว ถึงเวลาที่เราต้องรันระบบน้ำในตู้โดยการเติมน้ำเกลือลงในตู้ปลาและเปิดปั๊มเปิดเครื่องชิลเลอร์หรือเครื่องคุมอุณหภูมิได้ เช็คตามท่อและตามมุมตู้ สังเกตุว่ามีน้ำรั่วไหลหรือไม่
หากไม่พบจุดที่รั่วไหล สามารถทำขั้นตอนต่อไปได้
ในช่วงการลงน้ำในตู้แรกๆ อาจจะพบความขุ่นมัว ไม่ว่าจะมาจากเกลือหรือจากทราย ให้เว้นระยะเวลา 24 ชม. เปิดระบบทั้งหมด เพื่อให้น้ำนั้นดูใส่สะอาดตามากขึ้น สกิมเมอร์ให้เว้นระยะ 24 ชั่วโมง เนื่องจากเราได้ทำการใส่แบคทีเรีย และยังไม่มีของเสียในตู้จึงไม่จำเป็นต้องเปิดทิ้งไว้

8. การลงปะการัง
ตามฉบับสากล เราสามารถลงปะการังในตู้ปลาได้ทันทีและไม่มีความเสี่ยงต่อพิษของแอมโมเนียเหมือนปลา และปะการังไม่ได้ทำของเสียให้ตู้มากเหมือนปลา ดังนั้นระบบแบคทีเรียจึงสามารถเดินการทำงานได้ทันปกติ สามารถติดชิ้นส่วนของปะการังกับโครงสร้างหินโดยใช้กาวติดปะการังหรืออีพ็อกซีได้ตามใจชอบ ในช่วงแรกของการตั้งตู้ควรเลือกปะการังเลี้ยงง่ายและทนต่อค่าที่แกว่งในการเริ่มต้น

9. การลงปลา
ไม่ควรลงปลามากเกินไปในตู้ทะเลช่วงแรก ควรลงปลาทีละน้อย เริ่มจาก1-2ตัว ตัวเล็กๆสำหรับเริ่มต้นของตู้ ระบบแบคทีเรียของการรันน้ำในช่วงแรกจะทำการกินของเสียของปลาเป็นอาหาร และเร่งวงจรให้ไวขึ้น หากใจร้อนลงปลามากกว่า 2 ตัวขึ้นไป หรือลงปลาถี่มากเกินไป อาจทำให้วงจรของระบบนั่นเสียสมดุลย์และพังลง ส่งผลให้เกิดความเสี่ยง ทำให้ปลาอาจเกิดโรค New Tank Syndrom ได้ รวมไปถึงสิ่งมีชีวิตอื่นๆอาจจะได้รับผลกระทบไปด้วยเช่นกัน

10. การบำรุงรักษาประจำวัน
ในตู้ปลาเล็กๆ การบำรุงรักษาจะใช้เวลาเพียงไม่กี่นาทีในแต่ละวัน ให้อาหารปลาพอให้กินหมดในเวลาน้อยกว่า 1 นาที

11. การเปลี่ยนน้ำ
การเปลี่ยนน้ำเค็ม 10% ทุกสัปดาห์ในระยะแรกเป็นสิ่งสำคัญในการรักษาเสถียรภาพของตู้ปลา ใช้เหยือกหรือถังน้ำเพื่อนำน้ำออก 1ตามจำนวนการคำนวนน้ำในตู้ปลาของตัวเอง ว่าใช้กี่ลิตรหรอกี่แกลลอนในแต่ละครั้งและแทนที่ด้วยน้ำเกลือที่สะอาด และเพื่อเติมแร่ธ่ตุบางส่วน รวมไปถึงแร่ธาตุรองที่สำคัญ

เป็นอันเสร็จสิ้นสำหรับขั้นตอนง่ายๆที่เราอยากให้ทุกท่านเรียนรู้
เพราะการเลี้ยงตู้ปลาทะเลนั้นไม่ยาก ถ้าคุณพร้อมที่จะเรียนรู้ เข้าใจ อดทน และพยายาม ผลลัพท์ที่ได้จะทำให้คุณมีความสุขทุกครั้งที่จ้องมองตู้ทะเลของตัวเอง

มามีความสุขด้วยกัน ก้าวไปด้วยกันกับการพัฒนาตู้ทะเลนะคะ ^^


บทความที่เกี่ยวข้อง
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy